Development พัฒนา
องค์กรที่มุ่งมั่นความก้าวหน้าและความสำเร็จ ย่อมต้องอาศัยทีมงานที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ
และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อองค์กรนั้นให้ความสำคัญกับบุคลากรและมีกระบวนการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง
เพื่ออนาคตขององค์กรและตัวบุคลากรเอง
Upper Assessment – for Development เป็นเครื่องมือประเมินสำหรับการพัฒนาตนเอง บุคลากรในทีม
ทักษะ และความสามารถด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาความมั่นใจให้บุคลากรหรือพนักงานในการตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากลักษณะงาน
ความแตกต่างของบุคคลในทีม และสังคมที่แวดล้อม เตรียมความพร้อมของบุคลากรในการรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น
หรือในตำแหน่งที่สูงขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ทั้งนี้ยังสามารถนำเครื่องมือประเมินเหล่านี้ไปใช้ขยายผลและต่อยอดในการทำ
Talent Management Program, Individual Development Program (IDP), Succession Planning
Program และ จัด Career Path สำหรับอนาคตได้อย่างลงตัว
Upper Assessment – for Development
เครื่องมือประเมินในหมวด Development ได้แก่
Classic
เป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาตัวตนเชิงพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน
ข้อได้เปรียบและข้อควรปรับของบุคคล ในแง่มุมเชิงจิตวิทยาประยุกต์
เพื่อนำไปขยายผลต่อในการพัฒนาตัวเอง
การรู้จักตัวตนทั้งในแง่บวกและลบยังช่วยเปิดโลกทัศน์การรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล
นำไปสู่การปรับตัวในการสื่อสารระหว่างบุคคล การเข้าสังคม
และการทำงานร่วมกันกับผู้คนในทีมที่มีความคิดเห็นและการแสดงออกที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความเข้าใจกันมากขึ้น
Development
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาตนเองได้ตรงตามคุณลักษณะหรือตัวตนของตัวเอง
เสริมความมั่นใจในจุดแข็งและกระตุ้นเตือนให้ปรับปรุงจุดอ่อน
สร้างการรับรู้ในสิ่งที่ตนขาดหรือบกพร่องในการทำงานตำแหน่งงานนั้นๆ
สามารถมองเห็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพ และลดทอนข้อจำกัดของตัวเอง
องค์กรหรือหัวหน้าสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับบุคลากรให้เป็น Potentials
Employee
อีกทั้งยังเป็นการให้ความช่วยเหลือพัฒนาการของพนักงานรายบุคคลได้อย่างตรงจุดอีกด้วย
Compact
เป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาตัวตนเชิงพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน
ข้อได้เปรียบและข้อควรปรับของบุคคล ในแง่มุมเชิงจิตวิทยาประยุกต์
ซึ่งจัดทำข้อมูลในรูปแบบที่กระชับ เฉพาะเจาะจง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็น ที่ปรึกษา
วิทยากร หรือผู้ที่มีพื้นฐานความเข้าใจในเรื่อง DISC model อยู่แล้ว
Role/Behavior Analysis
เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความสอดคล้องหรือประเมินช่องว่าง (gap)
ระหว่างลักษณะที่คาดหวังในบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานนั้นๆ
กับคุณลักษณะเฉพาะของบุคลากรหรือพนักงานรายบุคคล
การเห็นความสอดคล้องหรือเห็นช่องว่าง (gap) ที่ชัดเจนขึ้น
ช่วยในการค้นหาขีดความสามารถของพนักงานและความเป็นไปได้ในการสร้างพัฒนาการ
ช่วยองค์กรจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ออกแบบแผนฝึกอบรมและดึงศักยภาพของบุคลากรได้เหมาะกับความถนัดและคุณลักษณะตัวตนของพนักงาน
อีกทั้งตัวพนักงานก็ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ถูกคาดหวังและสิ่งที่ตนพร่องไป
เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานและองค์กรในการสร้างพัฒนาการบุคคลและเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น
หรือในตำแหน่งที่สูงขึ้น
360 Degree
เป็นเครื่องมือการประเมินข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา โดยผู้ประเมินที่หลากหลาย
ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ผู้บังคับบัญชาเหนือถัดขึ้นไป
เพื่อนร่วมงานภายในหน่วยงาน เพื่อนร่วมงานภายนอกหน่วยงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา
ลูกค้าภายใน ลูกค้าภายนอก และประเมินตนเอง
การประเมินลักษณะนี้จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลของตนเองที่มาจากรอบทิศทาง
เป็นข้อมูลที่มากพอที่จะทำให้พนักงานรับรู้ว่าพฤติกรรมอะไรที่เป็นจุดแข็งและพฤติกรรมเรื่องใดที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องการการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น
และข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้ผู้รับข้อมูลป้อนกลับเกิดความเชื่อถือและยอมรับผลการประเมิน
ซึ่งสามารถนำไปสู่การออกแบบแผนการฝึกอบรมและพัฒนาความสามารถของพนักงานรายบุคคลต่อไป
|