หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีให้เช่าช่วง Share
By www.rd.go.th
Published Date 8 กันยายน 2552

เลขที่หนังสือ : กค 0702/2649
วันที่ : 2 เมษายน 2552
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีให้เช่าช่วง

ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(5)(ก) มาตรา 43 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) และมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)

ข้อหารือ : 
           นาย ว. มีเงินได้จากการให้เช่าช่วงตึกแถวเดือนละ 8,500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2551 รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น จำนวน 51,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม สำหรับระยะเวลาการเช่า 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2560 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 1,200,000 บาท โดยชำระในวันจดทะเบียนการเช่า และนาย ว. ทำงานเป็นพนักงานบริษัทฯ มีรายได้จากเงินเดือน และได้เช่าตึกแถวดังกล่าวเพื่อจะทำกิจการร้านขายยา แต่ยังมิได้ดำเนินการ เริ่มให้เช่าช่วงตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 นาย ว. จึงขอทราบว่า ในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2551 กรณีมีเงินได้ จากการให้เช่าช่วงดังกล่าว จะนำค่าเช่าที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม จำนวน 1,200,000 บาท มาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเป็น รายเดือน ได้หรือไม่   

แนววินิจฉัย :
          กรณีนาย ว. มีเงินได้จากการให้เช่าช่วงตึกแถว ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อเสียภาษี นาย ว. สามารถหักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่า ที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม เว้นแต่กรณีมีหลักฐานและพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและ สมควรตามมาตรา 5(1) วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 จึงสามารถนำเอาค่าตอบแทนซึ่งนาย ว. จ่าย ให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม จำนวน 1,200,000 บาท มาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร โดยนำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งจะนำค่าตอบแทนอันเป็นต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่าที่ไม่มีข้อกำหนด ให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ซึ่งหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ ไม่เกินร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 และหากหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ ก็ให้ ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ตามมาตรา 43 แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502

เลขตู้: 72/36516

ที่มา : กรมสรรพากร
www.rd.go.th



line