หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
Effective Coaching ตอน “ 3 ใจในการเป็นโค้ช ” Share
By ทัศน์ จารุศักดิ์ศรี
Published Date 22 มิถุนายน 2552

ชุด Effective Coaching ตอน “ 3 ใจในการเป็นโค้ช ”
โดย อ.ทัศน์ จารุศักดิ์ศรี
* Upper Knowledge Executive Coach
* ผู้เชี่ยวชาญในการดึงศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยเทคนิค การประเมินบุคลิกภาพและการ coaching


     ในวงการกีฬาโค้ชของนักกีฬามือหนึ่งของโลก อาจจะไม่เคยสัมผัสเหรียญทองในเกมส์กีฬานั้นๆ ในวงการธุรกิจ ผู้ที่เป็นโค้ชให้ผู้บริหารระดับสูง อาจไม่เคยอยู่ในตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงใดๆ!

     ดูเหมือนว่าโค้ช จึงไม่ใช่คนที่เก่งกาจหรือรอบรู้ไปหมดเสียทุกอย่าง แล้วพวกเขาโค้ชให้นักกีฬาหรือผู้บริหารชั้นนำเหล่านั้น ประสบผลสำเร็จได้อย่างไร? แสดงว่า ผู้เป็นโค้ช ต้องมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่าง อย่างนั้นหรือ? แล้วคนทำงานธรรมดา หัวหน้างานตัวเล็กๆ จะเป็นโค้ชที่ดีได้ไหม?

     คำตอบคือ “เป็นได้” เพียงแค่เราตกลงใจว่าเราจะเป็น 

    โค้ช คือผู้ที่ช่วยเหลือ กระตุ้นจูงใจให้ผู้รับการโค้ช ค้นหาศักยภาพของตน พัฒนาขีดความสามารถ แก้ไขปรับปรุง เพิ่มความมั่นใจ สร้างความก้าวหน้าเติบโตให้ตนเอง โดยที่โค้ช จะทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้รับการโค้ชนั่นเอง

     ความรอบรู้ ความสามารถของผู้เป็นโค้ชเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญมากยิ่งกว่า สำหรับการเป็น โค้ชที่ดีและมีประสิทธิภาพ นั่นคือจะต้องมี “ 3 ใจ ” พิเศษ คือ ใจเมตตา ใจมุ่งมั่น และ ใจศรัทธา

     ถ้าขาด “ใจ” บางใจไป การโค้ช ก็จะไม่เกิดหรือถ้าเกิดก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้ผล


ใจเมตตา ทำให้เรามองเห็นคุณค่าในตัวคน (Value in people)
     มองคนในแง่บวก มีความห่วงใยอย่างจริงใจ มองว่า ทุกคนมีคุณค่า มีความสามารถ มีศักยภาพ ไม่มีใครเกิดมาเพื่อต้องการความล้มเหลว ทุกคนต้องการที่จะประสบความสำเร็จ ทุกคนต้องการที่เจริญเติบโตก้าวหน้า และมีความสามารถพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดียิ่งขึ้น การที่คนไม่สามารถประสบความสำเร็จเหมือนๆ กันได้ เป็นเพราะมีอุปสรรคบางอย่างมาขวางกั้นอยู่ โค้ชจะเข้ามาช่วยให้คนๆ นั้นเห็นคุณค่าในตนเองและปลดล๊อคอุปสรรคด้วยตัวเขาเอง

ใจมุ่งมั่น ที่จะสร้างความเป็นเลิศ (Passion for excellence)
     ผู้เป็นโค้ช มีความต้องการ ความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะสร้างผลงานที่เป็นเลิศ ยอดเยี่ยม และทราบดีว่าความเป็นเลิศ ไม่ได้เกิดจากโชคชะตา แต่เกิดจากการทำงานหนัก ความทุ่มเท มองหาจุดเด่นและจุดบกพร่องของผู้รับการโค้ช ของสมาชิกในทีม หาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ลบจุดบกพร่อง และใช้ประโยชน์จากจุดเด่นให้มากขึ้น

     ผลงานที่ออกมาจะเป็นเลิศ ยอดเยี่ยมได้ต้องอาศัยความสามารถ ความมุ่งมั่นตั้งใจของสมาชิกในทีม ซึ่งถือว่าเป็นภาระกิจสำคัญที่โค้ชจะต้องทำให้เกิดขึ้น การเข้าควบคุมและการข่มขู่ เกรี้ยวกราด อาจทำให้ผู้รับการโค้ชพยายามปกป้องตัวเอง และถอยหนีไม่สามารถทำให้เกิดความมุ่งมั่นตั้งใจ และผลงานที่ดีเยี่ยมได้ ความมุ่งมั่นตั้งใจของโค้ช จะถูกส่งออกไปยังผู้รับการโค้ชให้รับรู้ความรู้สึกได้ ด้วยใจเมตตาประกอบกับความมุ่งมั่น สามารถทำให้ผู้รับการโค้ชมุ่งมั่น เพิ่มความพยายามตามขึ้นไปอีกด้วย

ใจศรัทธา ผู้เป็นโค้ชต้องเชื่อมั่นศรัทธาอย่างไม่สั่นคลอนในกระบวนการโค้ช (Belief in coaching)
     เชื่อว่าการโค้ชสร้างค่า ให้ประโยชน์ระยะยาวและยั่งยืนแก่ผู้ได้รับการโค้ช ให้ผู้ที่รับการโค้ชก้าวไปสู่ทางที่ดีกว่า เชื่อว่าทุกคนต้องการโค้ช ไม่ว่าจะเป็นคนเก่ง หรือ คนที่มีปัญหา เชื่อว่าจุดที่ต้องการพัฒนาปรับปรุงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โค้ชต้องเข้าใจคุณลักษณะของผู้รับการโค้ช ความเข้าใจเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เป็นโค้ชปรับรูปแบบและจัดกระบวน การโค้ชให้เหมาะสมกับรูปแบบและลักษณะปัญหาของผู้รับการโค้ช ท้ายที่สุด แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการที่จะพัฒนาและก่อให้เกิดการเจริญเติบโตก้าวหน้าของตัวเอง




line