หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
Lean Thinking: The First Step to Lean Management Share
By อรรถพล วิทยกฤตศิริกุล
Published Date 17 เมษายน 2552

Lean Management Strategy Series
Lean Thinking: The First Step to Lean Management

     ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่อเค้าถดถอย ที่ช่วงนี้เรามักได้ยินแต่ข่าวลอยแพพนักงาน ลดกำลังการผลิต แผนเชิญชวนให้ Early retire แผนลดพนักงาน ธุรกิจเริ่มขาดสภาพคล่องและอาจต้องล้มพับไปมากมาย ทำให้ใครต่อใครอดคิดไม่ได้ว่า “แล้วจะถึงตาเราเมื่อไร” อย่ารอเลยครับ “เปลี่ยน” วิธีคิดของเราแล้วเริ่มทำปัจจุบันให้ดีขึ้นดีกว่า ช่วงนี้ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ

     ใครที่เคยได้ยินคำว่า Lean แล้วคิดว่าเป็นเพียงการลด ละ เลิก สิ่งที่เกินความจำเป็นเท่านั้น อาจเข้าใน jigsaw ส่วนเดียวของ Lean เพราะการลดอย่างเดียวอาจทำให้ธุรกิจของคุณ ลดอย่างถาวรได้ ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความรู้ เพิ่มมุมมองเพื่อเป็นทางเลือกให้ตนเองและเพื่อนพนักงาน

     การ “ลด ละ เลิก” สิ่งเกินความจำเป็น และการ ”เพิ่ม” หรือ “ต่อยอด” คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ตลอดทั้งกระบวนการ (Value Creating throughout the value stream) ไม่ว่าจะเป็นความรู้ มุมมอง วิธีการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น (Flexibility) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ให้คนและที่ทำงาน คือแนวความคิดพื้นฐานของกลยุทธ์แบบ Lean Management

Lean Management Lean Office, Lean Solution  
     Lean ภาษาอังกฤษใช้เรียกส่วนที่เป็นเนื้อที่ไม่ติดมัน หรือมีเนื้อมากกว่าไขมัน ไขมันอาจถูกเปรียบเปรยว่าเป็นส่วนเกิน และหมายถึงส่วนเกิน หรือสิ่งที่ไม่จำเป็นของธุรกิจ

     คำว่า Lean เกิดขึ้นยุค ค.ศ.1980 เพื่อใช้อธิบายระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) ในขณะที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบการผลิตรถยนต์ในประเทศต่างๆ ของสถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาในครั้งนั้น พบว่า บริษัทโตโยต้า สามารถผลิตรถยนต์แข่งขันได้ทั่วโลก เนื่องจากมีการพัฒนาประสิทธิภาพของการออกแบบ การผลิต การตลาดและการบริการ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวมีปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่การกำจัดความสูญเสียในกระบวนการ และการใช้ประโยชน์จากบริษัทที่จัดส่งชิ้นส่วนให้โตโยต้า เพื่อร่วมกันสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า

     จากนั้น แนวคิดแบบ Lean ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเชิงการสร้างคุณค่าและเป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วย บางส่วนของเครื่องมือการบริหารแบบลีน (Lean Management) ตัวอย่างเช่น
Visual control & 5S กิจกรรม 5 ส
   • SEIRI หมายถึง สะสาง หรือการแยกแยะให้ชัดเจน
   • SEITON หมายถึง สะดวก หรือการจัดให้เป็นระเบียบ
   • (SEISO) หมายถึง สะอาดหรือการทำความสะอาด ได้แก่ การทำความสะอาดสถานที่ทำงาน
   • (SEIKETTSU) หมายถึง สุขลักษณะ การดูแลรักษาสถานที่ทำงานให้มีความสะอาด เพื่อสุขภาพอนามัยและมีความปลอดภัยอยู่เสมอ
   • (SHISUKE) หมายถึง สร้างนิสัย และการรักษาระเบียบวินัย

Kaizen
   • Kaizen เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า "การปรับปรุง" (Improvement)
   • Kaizen เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการการอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วม  ของพนักงานทุกคน ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ หัวใจสำคัญอยู่ที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด (Continuous Improvement)

Value Stream Mapping
   • เป็นการ ตีแผ่ วิเคราะห์ และปรับปรุงผังกระบวนการทำงานและบริหารงานตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งแต่ละ unit ทำหน้าที่เป็นส่วนที่เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการนั้น

Just in Time (JIT)
   • เป็นการบริหารจัดการวัตถุดิบและชิ้นส่วนเข้าสู่กระบวนการผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการ เพื่อให้ผลิตเป็นสินค้าได้พอดีกับความต้องการทั้งปริมาณและเวลา ทั้งนี้ เพื่อลดความสูญเสียและต้นทุนที่มาจากการคงคลังและลดงานระหว่างกระบวนการอันเป็นข้อเสียของการผลิตแบบคราวละมากๆ
   • หลักการคือ ทำอย่างไรให้งานจาก step หนึ่ง flow ไปยังอีก step โดยรวดเร็วและไม่มีงานรอค้าง หรือ ทำให้ work in process (WIP) มีน้อยที่สุด โดยใช้หลักการ Pull เช่น step 2 ต้องการชิ้นงานเท่าไหร่ step 1 ก็ส่งมาเท่านั้นตามความต้องการของ step 2
   • ในทางกลับกัน push strategy , step 1 ก้มหน้าก้มตาทำส่งไปให้ step 2 จำนวน 20 หน่วย ทั้งๆที่ต้องการใช้ในเวลานั้นแค่ 10 หน่วย อีก 10 หน่วยไปรอเฉยๆ ต้องเสียทั้งเวลา ที่เก็บ และค่าใช้จ่ายในการเก็บ

Ergonomics
   • Ergonomics หรือ การยศาสตร์ คือหลักวิธีปฏิบัติที่ว่าด้วย การจัดสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ดี ที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ลด error เพิ่มความปลอดภัย คุณภาพชีวิต และความคิดสร้างสรรค์ เช่น Office Layout การจัดวางอุปกรณ์ แสงไฟส่องสว่าง รวมถึงอิริยาบถที่ถูกต้องระหว่างการทำงานเช่นการนั่งทำงาน การยกของ ฯลฯ

     แนวคิดการจัดการแบบ Lean บางคนอาจแย้งว่า ตกกระแสไปแล้วรึเปล่า แต่อย่าลืมนะครับว่า “คุณค่า” มีอยู่ในทุกความคิดที่ตกผลึกแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ ประเด็นอยู่ที่ว่า เราสามารถดึงมันมาใช้ประโยชน์ได้หรือเปล่า มองเห็นโอกาสที่จะปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันได้หรือไม่

    แล้วจะเริ่มจากตรงไหน? เริ่มที่ตัวเราและวิธีคิดของเราก่อน แล้วขยายผลไปหาคนรอบข้างด้วยการ
   • คิดเป็นคำถาม (Inquiring thinking) เพื่อการพัฒนาปรับปรุง และสร้างความแตกต่าง 
   • คิดแบบนักเรียนรู้ ไม่ใช่นักตัดสิน (Think like learner not judger) เช่น มีทางเลือกอะไรบ้าง? มีอะไรที่เป็นไปได้บ้าง? ฉันได้เรียนรู้อะไรบ้าง? ไม่ใช่ ฉันไม่ผิดพวกเขาผิด ทำไมต้องเกิดขึ้นกับฉัน? ทำไมฉันถึงแย่ขนาดนี้?
   • กล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อวันที่ดีกว่า (Dare to change) คิดถึงผลลัพธ์ด้วยอารมณ์ประมาณว่า “จะดีแค่ไหนถ้าเราทำ….สำเร็จ” เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง 
   • สร้าง เพิ่ม ต่อยอด คุณค่าตลอดกระบวนการทำงาน (Value Creating throughout the value stream) 
    
     ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดประโยชน์เลยถ้าเราไม่กล้าเปลี่ยนแปลง และเริ่มลงมือทำ 

     Rethinking for the better day. Change for the better future. Think Lean.

สนใจการประยุกต์ใช้ Lean Solution เพื่อลดต้นทุน  เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความคล่องตัวใน Office ของคุณ  คลิกที่นี่

สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com
โทร.02-730-5589




line