หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
สุดยอดประเทศนวัตกรรมของโลก Share
By รศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Published Date 17 เมษายน 2552

สุดยอดประเทศนวัตกรรมของโลก
รศ. ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค
รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     ได้มีการพิจารณาจัดอันดับสุดยอดประเทศนวัตกรรมชั้นนำของโลกโดยบริษัทที่ปรึกษาทางการจัดการชื่อก้องโลก BCG ซึ่งเชื่อกันว่า นวัตกรรมที่โดดเด่นน่าจะเป็นหนึ่งในทางออกที่สำคัญของการนำประเทศก้าวพันวิกฤตการณ์อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

     โดยการจัดอันดับครั้งนี้ ได้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ที่สำคัญเกี่ยวกับนวัตกรรมนั่นคือ นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการศึกษา คุณภาพของกำลังแรงงานผลลัพธ์ทางด้านการวิจัยพัฒนาที่เกิดขึ้นรวมถึงผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจ

     ซึ่งอันดับที่หนึ่ง นับว่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด คือ สิงคโปร์ ที่ถือเป็นประเทศที่รุกในด้านการเสาะแสวงดึงดูดการลงทุนจากนานาประทศเข้ามาได้เป็นอย่างดี จนกลายเป็นศูนย์กลางทางความเจริญทั้งในด้านเทคโนโลยีการบริการและการผลิต สิงคโปร์มีอุตสาหกรรมทางการเงินที่แข็งแกร่ง ปิโตรเคมีที่โดดเด่น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการบริการอีกมากมายหลายประเภท อาทิ บริการสุขภาพที่ถือเป็นคู่แข่งตัวฉกาจของบ้านเราในขณะนี้ ซึ่งทุกประการก็ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากการผลักดันส่งเสริมจากรัฐบาล ที่ทุ่มเททั้งทรัพยากรและเงินทุนในการพัฒนานวัตกรรมหลากหลายประเภทให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีนโยบายในการดึงดูดบุคลากรชั้นหัวกะทิจากทั่วโลก ให้เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ เมื่อผนวกรวมกับประชาชนที่มีการศึกษาดีของตนเองแล้ว สิงคโปร์จึงเป็นแหล่งในการสร้างนวัตกรรมที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

International Flags

     อันดับสอง ก็ยังอยู่ในเอเชียครับ คือเกาหลีใต้ ซึ่งเข้าตากรรมการอย่างมากในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่โดดเด่น โดยเฉพาะเป็นนวัตกรรมสีเขียว ที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ นับเป็นนโยบายหลักที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรัฐบาลเกาหลีอย่างชัดเจนที่ต้องการเป็นผู้นำทางด้านนี้ของโลก

     โครงการในการวิจัยพัฒนาทางด้านนี้นั้น จะมาจากโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลและกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีเป็นหลัก โดยแคมเปญนี้รู้จักกันในนาม “กรีนดีล” ที่ต้องการจะเพิ่มงบประมาณการลงทุนในการวิจัยพัฒนาของประเทศให้ถึง 35 พันล้านเหรียญภายในปี 2012 และ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนทางด้านวิจัยพัฒนาต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติให้ถึง 5% อีกด้วย ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นอีกหนึ่งศูนย์กลางการสร้างสรรค์นวัตกรรมโลกไปแล้ว

     อันดับสาม คือ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งโดดเด่นมาด้วยวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตยา มีกิจการยักษ์ใหญ่ของโลกมากระจุกตัวอยู่ที่นี่มากมาย อาทิ โนวาร์ติส โรส ฯลฯ รวมถึงเป็นแหล่งกำเนิดนวัตกรรมในธุรกิจอาหาร และ ธุรกิจการบริการต่างๆ ที่สำคัญของโลกอีกด้วย

     ตามมาด้วย ไอซ์แลนด์ ดินแดนแห่งน้ำแข็งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุดไปไม่น้อย รัฐบาลจึงกำหนด อเจนดาหลักใช้นวัตกรรมเป็นอาวุธลับในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกลับคืนมา โดยทุ่มเทพัฒนาศูนย์นวัตกรรมหลักของชาติ รวมถึงปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย 
    
     อันดับห้า คือ ไอร์แลนด์ ที่อยู่ติดกับสหราชอาณาจักร ถึงแม้จะไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่โต แต่ก็มีระบบภาษีที่จูงใจ และประชาชนที่มีการศึกษาสูง ทำให้เป็นแหล่ง ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ให้เข้ามาลงทุนในประเทศ อาทิ ไมโครซอฟท์ นอกจากนี้คุณภาพสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้นจากความร่วมมทออย่างแน่นแฟ้นระหว่างภาควิชาการและเอกชน ทำให้เป็นปัจจัยผลักดันนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

     อันดับหก ฮ่องกง สวรรค์แห่งการช็อปปิ้งของใครๆ หลายคนก็เป็นศูนย์กลางการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่นกัน โดยเฉพาะในด้านธุรกิจการเงิน ลอจิสติกส์ ดีไซน์ ฯลฯ ซึ่งก็ได้อานิสงส์มาจากสาธารณูปโภคที่พรั่งพร้อม มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพระดับโลกรวมถึงประชากรที่มีการศึกษาสูงและทักษะภาษาอังกฤษดี ทำให้ฮ่องกงอยู่ในแถวหน้าได้ครับ

     ฟินแลนด์ ก็ตามมาติดๆ ด้วยผลงานด้านนวัตกรรมที่ไม่น้อยหน้า โดยเฉพาะทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งมีโนเกียเป็นหัวหอกหลักในธุรกิจนี้ ทำให้ผลงานยังโดดเด่นเข้าตากรรมการในปีนี้

     อันดับแปด คือ อเมริกา ที่ในปีนี้แม้จะโดนมรสุมลูกใหญ่ที่สุดลูกหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังยืนหยัดในความเป็นผู้นำนวัตกรรมของโลกไว้ได้ ด้วยคุณภาพการศึกษาระดับสูงที่มีคุณภาพ สามารถดึงดูดนักเรียนหัวกะทิจากทั่วโลกมาไว้ได้ ทำให้ยังคงอันดับด้านการสร้างสรรค์ให้อยู่ระดับท็อปเทนในปีนี้

     อันอับที่เก้า คือ ญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัย ที่แม้ว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจจะตกอยู่ในภาวะถดถอยอย่างรุนแรงก็ตาม แต่บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นก็ยังสามารถพัฒนาวัตกรรมออกมาได้อย่างต่อเนื่อง อาทิ โตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ ฟูจิอินดัสตรีส์ ฯลฯ รวมถึงการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล ทำให้ญี่ปุ่นยังคงสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านเครื่องยนต์ โซลาร์เซลล์ พลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงกลับคืนมาได้

     อันดับปิดท้ายท็อปเทน คือ สวีเดน ที่มีวัฒนธรรมด้านการสร้างสรรค์มายาวนานและยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำของเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารและเครื่องยนต์กลไก โดยในยุโรปก็ยกย่องว่า สต็อกโฮม ถือเป็นเมืองที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ให้เติบโตขึ้น

     แนวทางการสร้างสรรค์ของประเทศชั้นนำด้านนวัตกรรมเหล่านี้ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราได้บ้างนะครับ สำหรับน้องๆ มัธยมที่กำลังจะสอบคัดเลือกเข้ามาเป็นนิสิตของคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มีข่าวเรื่องทุนการศึกษาในโครงการ CBS Rising Star Scholarships ในปีนี้สำหรับน้องที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษาได้ในอันดับ 10 Percentile แรก และเลือกคณะฯเป็นอันดับหนึ่ง จะได้รับทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาท พร้อมการประกาศเกียรติคุณจากคณะฯด้วยโดยแบ่งเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ทุน บริการธุรกิจบัณฑิต 4 ทุน และสถิติศาสตร์บัณฑิต 2 ทุน ฝากท่านผู้ปกครองบอกต่อยังบุตรหลานทุกท่านนะครับ


     แนวทางนี้นับว่าได้ทั้งไอเดียแปลกใหม่ และประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาทำงานประจำที่กิจการ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก้อนโตเป็นประจำทุกงวด ซึ่งกิจการระดับโลกอย่าง จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ก็ได้ใช้แนวทางดังกล่าวผ่านทางอินเทอร์เน็ต เก็บเกี่ยวไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ และนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนมากมาย หรืออย่างบริษัท Clorox ที่บอกอย่างชัดเจนว่า 80% ของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ของตน มาจากการสร้างสรรค์ร่วมกับพันธมิตรภายนอกอย่างน้อยหนึ่งรายขึ้นไป ในปี 2010 นี้ คาดว่าคงจะเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมากครับ เพราะแม้ว่าดีมานด์จะยังไม่เติบโตแข็งแกร่งมากนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าลูกค้าก็ต้องการความแปลกใหม่ที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน มิฉะนั้นยอดขายสินค้าใหม่อย่าง สมาร์ทโฟน หรือทีวีแอลซีดี คงไม่ขยายตัวอย่างมาก แม้ในช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมาครับ
 



line