หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
Member Login
(your email)
*
*
Forget Password?
สมัครสมาชิก
ตระกร้าสินค้า
กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
*
Your email is not correct.
Course
Articles
บัญชี-การเงิน-กฎหมาย-ภาษี
กลยุทธ์/เทคนิคการบริหาร/Tools
การตลาด / การขาย / CRM
ภาวะผู้นำ/บุคลิกภาพ/การสื่อสาร
งานอดิเรกและวิชาชีพ
Team Building / Walk Rally
HRD / HRM
การลดต้นทุน / Cost Reduction
Life Planning / Inspiration
Home
>
Articles
ลดความขัดแย้งอย่างนุ่มนวล
Share
By
ดร. นิตยา นีรนาทโกมล
Published Date
3 เมษายน 2552
ลดความขัดแย้งอย่างนุ่มนวล
เมื่อที่ใดมีคนมากกว่าหนึ่ง ปัญหาความขัดแย้งก็เกิดเป็นเรื่อง
ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ไหนๆ แล้วเราจะมีวิธีบริหารจัดการกับมันอย่างไร
ตามจริงตำราบริหารจัดการความขัดแย้งมีมากมายหลายวิธี แต่วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอหลักการ Emergenetics ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการนี้ ( จากหนังสือ Emergenetics : Tap into the New Science of success) เพราะเป็นอะไรที่เข้าได้กับสถานการณ์ทั่วไป ทั้งที่ทำงานและส่วนตัว และข้อสำคัญ คือเข้าใจและจดจำได้ง่ายด้วยค่ะ
ผู้เขียนได้นำเสนอหลักการ Emergenetics ในคอลัมน์นี้เป็นครั้งคราว เพราะเป็นหลักการที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของคนที่มีความถนัดทางความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้ดี ทำให้เราเข้าใจจุดแข็ง (strength) และข้อจำกัด (limitation) ในตัวเรา รวมทั้งตระหนักความแตกต่างในคนอื่นซึ่งมีผลกระทบกับเราหรืองานได้
Emergenetics แบ่งความถนัดทางความคิดของคน เป็น 4 แบบคือ เชิงวิเคราะห์ (สีฟ้า) เชิงแบบแผน (สีเขียว) เชิงสานสัมพันธ์ (สีแดง) และเชิงมโนทัศน์ (สีเหลือง)
และพฤติกรรมเป็น 3 แบบ คือ เชิงการแสดงออก เชิงความมุ่งมั่น และเชิงความยืดหยุ่นวันนี้เราจะเน้นเพียงในส่วนของความคิดเท่านั้นค่ะ ถ้าคนเรามีความถนัดทาง ความคิดที่เหมือนกันเราคงมีปัญหาความขัดแย้งกันน้อย เช่น คนสีฟ้าชอบคิดวิเคราะห์ ก็จะต้องขอดูตัวเลข ขอข้อมูล ขอศึกษาก่อนตลอดเวลา ดังนั้นคงว่าตามกันไป แต่ความเป็นจริงทุคนไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนสีเหลืองที่ถนัดแบบมโนทัศน์อาจจะรู้สึกว่า ถ้าจะเอาแต่วิเคราะห์ คงไม่ทันกาลเข้าใจภาพใหญ่ก็พอ แล้วข้ามไปดู Solution กันเลยดีกว่า ผลไม่ต่างกันมากหรอก หรือคนสีแดงที่มีความถนัดเชิงสานสัมพันธ์ อาจมัวแต่คิดห่วงความรู้สึกและผล กระทบต่อคนที่เกี่ยวข้อง จนไม่คิดยากตัดสินใจอะไรและบางครั้งอาจเป็นที่ดูแคลนของคนสีฟ้าหรือสีเขียวที่ไม่ยึดความรู้สึกเป็นที่ตั้ง เพราะเชื่อว่าทุกอย่างควรมาจากข้อมูล
ความหลากหลายทางความคิดนี้จึงเป็นที่มาของความขัดแย้ง
นอกจากความคิด
เรายังมักจัดการกับปัญหา หรือความขัดแย้งตามความถนัดของเรา
เช่น ยิ่งแก้ปัญหาไม่ตก คนสีฟ้าก็ยิ่งหมกมุ่นที่จะวิเคราะห์ค้นหาข้อมูลมากขึ้นอาจมีการคิดคำนวณออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อการตัดสินใจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งบางครั้งขัดแย้งกับคนสีแดงที่คิดว่า เป็นการเสียเวลาทำไมไม่ใช้เวลาไปพูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้อง และขอความคิดเห็นเขาไปเลย ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาวิเคราะห์ข้อมูลเอง จะได้เข้าใจความรู้สึกคุ้นๆ ไหมคะ เราถนัดคิดอย่างไร เราก็ทำแบบนั้น และก็จัดการกับปัญหาหรือความขัดแย้งในแบบที่เราถนัดนั้นด้วย ความขัดแย้งทั้งความคิดและจัดการจึงเพิ่มทวี แต่ละคนคิดว่าวิธีของตนเองดีกว่า และถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีของเรา เราก็จะรู้สึกน้อยใจ เสียใจ และขาดความรู้สึกเป็นสวนหนึ่งของทีม
ดังนั้นมาดูกันนะคะว่าเราเอา Emergenetics มาประยุกต์ใช้บริหารความขัดแย้งได้อย่างไรเราจะว่ากันตามสีดังที่เกริ่นข้างต้นเพื่อความกระชับและง่ายในการจำ ในกรณีที่เราเป็นหัวหน้าทีมที่ 1) ให้เริ่มจากการใช้ความคิดสีแดง คือ ให้เริ่มเปิดใจว่าเราเข้าใจและเห็นมุมมองของทุกคน ควรใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง เช่น “ฉัน หรือ ผม” เพื่อแสดงถึงความรู้สึกของคนพูดเอง การเปิดใจลักษณะนี้อาจจะยากถ้าคุณไม่ใช่คนสีแดง แต่ผู้เขียนคิดว่าคุณจะได้ความ
2) ตามด้วยความคิดสีฟ้า คือ วิเคราะห์ไตร่ตรองถึงปัญหาอย่างถ้วนถี่ ทำความเข้าใจในข้อมูลให้ถูกต้อง วิธีนี้คนสีแดงก็จะต้องปล่อยความรู้สึกมาร่วมคิดโดยยึดข้อมูล คนสีเหลืองก็ต้องทำความเข้าใจก่อนจะก้าวข้ามไป
คิดไกลกว่าคนอื่น วิธีนี้ใช้เพื่อให้ทุกฝ่ายตกลงกันให้ลงตัว ถึงปัญหา จุดยืน หรือสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เพื่อมองไปในทิศเดียวกัน 3) ความคิดสีเหลือง เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสร่วมกันนำเสนอ solution โดยการระดมสมองทุกคนในทีมมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกเป็นคนร่วมออกความคิด 4) สีเขียว คือ วางแนวทางจัดการกับปัญหาให้ออกมาเป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง โดยเลือก solution ที่ดีที่สุด วางขั้นตอนที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และมีการกำหนดระยะเวลาให้เรียบร้อย
เราเคยพูดไว้หลายครั้งว่า คนเราไม่ได้มีความถนัดเพียงสีเดียวการยกตัวอย่างข้างต้นเพื่อให้ง่ายกับความเข้าใจเท่านั้น เป็นไงคะอ่านดูแล้วนุ่มนวลดีไหมคะ
ถ้าเราไม่เตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าก่อนเราจะพบว่าเรามัก จะจัดการกับความขัดแย้งความถนัดของเรา และบางครั้งทำให้สมาชิกในทีมที่มีความถนัดต่างจากเรามีความรู้สึกท้อแท้และไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
มาเปิดใจบริหารความขัดแย้ง ด้วยความเข้าใจในความแตกต่างและการดึงทุกคนให้เป็นพลังร่วมกันดีกว่าคะ
สนใจการประยุกต์ใช้
Upper
S
C
A
N
Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ คลิกที่นี่
สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
info@UpperKnowledge.com
โทร.02-730-5589
หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
? Copyright 2008 by Upper Knowledge Co.,Ltd. All Rights Reserved.
Level 17 Alma Link Building, No.25 Chidlom, Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330 Tel : 02-681-9721 Fax : 02-730-5509
Email : info@UpperKnowledge.com
website by : be pineapple