เข้าใจในความต่าง “ฉันทำอยู่ตรงนี้มานาน เข้าใจทุกอย่างดี เธอไม่เข้าใจหรอกแล้วจะมาพูดอย่างนี้ได้อย่างไร” ฟังดูแล้ว คงเดากันได้ว่าผู้พูดกำลังมีอารมณ์ขุ่นๆ อยู่ คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินประโยคทำนองนี้มาบ้างแล้ว ในบริบทต่างๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ถ้าต้องอยู่ ในสถานการณ์ทำนองนี้ อยากให้คุณผู้อ่านตั้งสติให้ดี อย่าเพิ่งคล้อยตามอารมณ์ต่อความยาวให้ข้องใจกันนะคะ แล้วมาทำความเข้าใจว่า เรื่องที่ถกเถียงกันนั้น มาจากเนื้อหาข้อมูลที่รับรู้ต่างกัน หรือจากประเด็นที่มองต่างกัน หรือมาจากการที่เรามีกรอบโลกทัศน์และความถนัดทางความคิดที่ต่างกันผู้เขียนพบว่าหลายครั้งเรื่องที่เรามีความขัดแย้งกันไม่ได้มาจากตัวเนื้อหาความรู้หลักแต่มาจากการที่เรามีกรอบโลกทัศน์หรือทัศนคติ และความถนัดทางความคิด (thinking attributes) ที่ต่างกัน ยิ่งเมื่อรวมกับ แรงจูงใจที่ต่างกันก็ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย เจ้ากรอบโลกทัศน์หรือทัศนคติของคนเราต่างกันตามการหล่อหลอมที่มาจากประสบการณ์ ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ เวลาเราจะตัดสินใจอะไร สมองจะเชื่อมโยงความคิดอ่านของเราเข้ากับกรอบโลกทัศน์ของ ตัวเราเมื่อกรอบเรากับกรอบเขาต่างกัน เราก็เหมือนมองต่างเลนส์กันคนหนึ่งอาจมองการตัดสินใจหนึ่งว่าเหมาะสม เด็ดเดี่ยว ในขณะที่อีกคน อาจมองว่าไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรม ความถนัดทางความคิดของคนเราที่ต่างกันทำให้เรามีการตอบสนองต่อข้อมูลต่างกัน ในทฤษฎีของ Emergenetics โดย Dr.Geil Browning ซึ่งอิงการวิจัยทางสมอง (brain-based) ได้แบ่งความถนัดทางความคิดของคนเราเป็น 4 คุณลักษณะใหญ่ ตามการทำงานของสมอง คือ เชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) • มีความคิดที่ชัดเจน • แก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล • ชอบตัวเลข • มีเหตุผล • เรียนรู้จากการวิเคราะห์ เชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) • มีจินตนาการ • มีญาณทัศนะในเรื่องแนวคิด • มีวิสัยทัศน์ • ชอบสิ่งที่แปลกใหม่ • เรียนรู้จากการทดลองทำ เชิงแบบแผน (Structural Thinking) • คิดในเชิงปฏิบัติจริง • ชอบแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน • ระวังในความคิดใหม่ๆ • คาดเดาพฤติกรรมได้ • เรียนรู้จากการลงมือทำ เชิงสานสัมพันธ์ (Social Thinking) • มีญาณทัศนะในเรื่องคน • ตระหนักถึงสังคมรอบตัว • เห็นใจสงสารคนอื่น • เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น • เรียนรู้จากคนอื่น เรียนรู้จากคนอื่น ลองมาคิดดูนะคะ ถ้าคนที่พูดประโยคข้างต้นเป็นคนเชิงแบบแผน ก็คงจะไม่เห็นด้วยถ้าคนเชิงวิเคราะห์มาเสนอแนวทางตามการวิจัยใหม่ หรือคนเชิงมโนทัศน์ที่จะมาบอกให้ลองทำอย่างอื่นนอกกรอบดู เพราะคนเชิงแบบแผนจะระมัดระวังในความคิดใหม่ๆหรือถ้าจะมองเปลี่ยนมุมว่าถ้าคนพูดเป็นคนเชิงมโนทัศน์ที่ลองทำมามากแล้ว ก็คงไม่เห็นด้วยกับคนที่จะมาวิเคราะห์ที่ตนทำ เพราะเข้าใจไปว่า เขามาจับผิดหรือจะมากำหนดให้ทำอะไรตามค่าสถิติ หรือคนเชิงแบบแผนที่เอาแต่จะมาจัดระบบระเบียบ (รายละเอียดในตารางนะคะ) แน่นอนคนเรามีคุณลักษณะความคิดทั้งสี่นี้ในตัว เพียงแต่มากน้อยต่างกัน เรามักถนัดคิดถนัดทำในสไตล์ของเรา เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ต่างจากเรา เราก็รู้สึกอึดอัด ความขัดแย้งก็ตามมา เอาเป็นว่าวันนี้เรามากำหนดใจให้รับรู้ว่าคนเรามีความแตกต่างทั้งกระบวนความคิดและมุมมองโลกทัศน์ ให้เปิดใจรับความแตกต่างเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพของสมองทั้งใบ (whole brain) กัน ความแตกต่างนำมาซึ่งพลังสร้างสรรค์และสีสันในชีวิตเราค่ะ สนใจการประยุกต์ใช้ Upper SCAN Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ คลิกที่นี่----------------------------------------- สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com โทร.02-730-5589