หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
Member Login
(your email)
*
*
Forget Password?
สมัครสมาชิก
ตระกร้าสินค้า
กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
*
Your email is not correct.
Course
Articles
บัญชี-การเงิน-กฎหมาย-ภาษี
กลยุทธ์/เทคนิคการบริหาร/Tools
การตลาด / การขาย / CRM
ภาวะผู้นำ/บุคลิกภาพ/การสื่อสาร
งานอดิเรกและวิชาชีพ
Team Building / Walk Rally
HRD / HRM
การลดต้นทุน / Cost Reduction
Life Planning / Inspiration
Home
>
Articles
โค้ชตามสมอง
Share
By
ดร. นิตยา นีรนาทโกมล
Published Date
18 กุมภาพันธ์ 2552
โค้ชตามสมอง
ในส่วนหนึ่งของการทำงาน หลายท่านคงได้มีโอกาสสอนหรือโค้ช
ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน
หรือคนในทึมมาบ้าง และอาจเคยรู้สึกว่า "ทั้งอธิบายก็แล้ว ให้เหตุผลก็แล้ว ทำไมทำไม่ถูกซะที" ซึ่งบ่อยครั้งเป็นปัญหามาจากการที่คนเรามีสไตล์ในการถ่ายทอดและรับรู้เรียนรู้ข้อมูลที่ต่างกัน ดังนั้นถ้าสไตล์ในการถ่ายทอดไม่เกื้อหนุนกับสไตล์ของคนที่รับ การสอนหรือการโค้ชนั้นก็จะไม่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่ และคุณผู้อ่านเชื่อไหมค่ะว่า สาเหตุมาจากการที่คนเรามีความถนัดในการใช้สมองต่างซึกกัน
Dr.Roger Sperry (ผู้ได้รับรางวัล Nobel ใน ค.ศ.2981) เป็นผู้ค้นพบเรื่องความแตกต่างในการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวา ซึ่งความรู้นี้ได้มีคนเอามาต่อยอดวิจัยศึกษากันมากมายทั้งในวงการแพทย์ จิตวิทยา การศึกษา ไปจนถึงการบริหาร และวันนี้เราจะมาคุยเรื่อง
ความถนัดทางสมองในความคิดแบบสไตล์ซ้าย (ถนัดคิดซีกซ้าย) และสไตล์ขวา (ถนัดซีกขวา)
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการโค้ชคนในทีมให้ได้ผลเป็นเลิศกันค่ะ
สมองซีกซ้ายประมวลข้อมูลแบบมิติเดียว (Linear Processing) และจากส่วนไปหาภาพรวม
คือ พิจารณา ข้อมูลเป็นส่วนๆ แล้วจึงนำแต่ละส่วนมาเรียงต่อกันโดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลหรือตรรกะเพื่อให้ได้ภาพรวม หรือข้อสรุป ในขณะ
ที่สมองซีกขวาจะประมวลข้อมูลแบบภาพรวมสรุปรวม (Holistic Processing)แล้วจึงลงไปที่ส่วน คือเริ่มจากคำตอบหรือข้อสรุปรวม
ไม่ลงในรายละเอียด
ดังนั้นถ้าหัวหน้าสไตล์ซ้าย คือชอบลงรายละเอียดทันทีและสอนเป็นส่วนๆ ในขณะที่ลูกน้องสไตล์ขวา หัวหน้าต้องหมั่น เตือนตัวเองให้พูดภาพรวมของโครงการก่อน แล้วจึงค่อยลงไปในรายละเอียดเป็นส่วนๆ ลูกน้องจะเข้าใจและตามทันความคิดเราได้ดีขึ้น
นอกจากนี้
คนสไตล์ขวามักจะสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้เพราะสมองจะประมวลข้อมูลแบบสุ่มไม่เป็นระบบ (Random Processing)
ดังนั้นเขาอาจอยากมีอิสระในวิธีการทำงาน หัวหน้าจึงควรมีความยึดหยุ่น ในการทำงานตามเห็นสมควร ถ้าผลงานออกมาได้ดี ถึงจะไม่ใช้สไตล์เรา ก็น่าจะรับกันได้ แต่ถ้ามีปัญหาการลำดับขั้นตอน อาจต้องโค้ชด้วน Check list กัน สำหรับ
คนสไตล์ซ้าย สมองจะประมวลข้อมูลเป็นลำดับ (Sequential Processing)
เวลาโค้ชควรให้ guideline ถ้าได้คู่มือยิ่งดีการโค้ชแบบไม่มีแบบแผนจะทำให้ลูกน้องสับสนและใช้เวลารับรู้นานขึ้น
ในขณะที่คนสไตล์ซ้ายสามารถเรียนรู้จากการอ่านได้ดี เพราะ
สมองซีกซ้ายประมวลสัญลักษณ์ (Symbolic Processing) คนสไตล์ขวาจะเรียนรู้ได้ดีจากการประมวลข้อมูลที่เห็น จับต้อง และสัมผัสได้ (Concrete Processing)
ดังนั้นการโค้ชที่ดีสำหรับคนพวกนี้ คือการสาธิต ให้ดูหรือโค้ชในขณะที่ปฏิบัติการจริง หรือใช้แผนภาพประกอบ
การโค้ชคนสไตล์ซ้ายต้องใช้เหตุและผลเป็นหลัก เพราะ
สมองซ้ายประมวลข้อมูลแบบตรรกะ (Logical Processing) แต่ถ้าเป็นคนสไตล์ขวา สมองจะใช้การหยั่งรู้ได้ (Intuitive Processing)
ในการตัดสินใจ ลองคิดดูสิคะว่าถ้าเจ้านายสไตล์ขวาโค้ชลูกน้องสไตล์ซ้ายวา “ถึงตรงนั้นคุณจะรู้สึกได้เองว่าคุณต้องทำยังไง” แล้วจะโทษลูกน้องคนนั้นได้ไหมคะถ้าเขาไม่เกิดความรู้สึกนั้น
ในเนื้อที่อันจำกัดนี้ ผู้เขียนตั้งใจนำเสนอเนื้อหาอย่างง่ายๆ ถึงแม้ตามจริงสมองทั้งสองซึกของคนเราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนยากที่จะแบ่งความรับผิดชอบได้เด็ดขาด ถึงกระนั้นมันก็แฝงด้วยความจริงและความลึกซึ้งในวิชาการอีกมากมายที่ไม่ได้คุยกันในที่นี้ ผู้เขียนหวังเพียงว่าความเข้าใจในความแตกต่างนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจปัญหาในการสื่อสาร และการนำไปประยุกต์ใช้ในการโค้ชที่ดีต่อไปค่ะ
สนใจการประยุกต์ใช้
Upper
S
C
A
N
Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ คลิกที่นี่
-----------------------------------------
สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com โทร.02-730-5589
หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
? Copyright 2008 by Upper Knowledge Co.,Ltd. All Rights Reserved.
Level 17 Alma Link Building, No.25 Chidlom, Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330 Tel : 02-681-9721 Fax : 02-730-5509
Email : info@UpperKnowledge.com
website by : be pineapple