หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
ตอนที่ 3 "ปล่อยวางแล้ว จะสำเร็จได้อย่างไร?" จากบทความชุด“ชีวิตที่ดี กับ งานที่สำเร็จ” Share
By คม สุวรรณพิมล Master Trainer of Coach for Goal
Published Date 6 ตุลาคม 2551

ตอนที่ 3 "ปล่อยวางแล้ว จะสำเร็จได้อย่างไร?"
จากบทความชุด “ชีวิตที่ดี กับ งานที่สำเร็จ”

โดย คม สุวรรณพิมล
- Upper Knowledge Executive Coach
- ที่ปรึกษาด้านการบริหารและผู้ฝึกอบรมด้านการพัฒนาตนเองให้แก่องค์กรต่างๆเป็นจำนวนมาก
- เป็นผู้ริเริ่มและร่วมพัฒนาหลักสูตร Coach! For Goal ซึ่งเป็นหลักสูตรในด้านการพัฒนาตนเองที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และในปัจจุบันคุณคมยังเป็น Master Trainer of Coach for Goal

“คนจะสำเร็จได้ ต้องมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นที่ชัดเจน เข็มแข็ง”
     คนทั่วไปก็คงรับรู้ถึงความจริงในข้อนี้ดี  แต่ทางพุทธศาสนากลับบอกให้เราปล่อยวาง อย่ายึดติดสิ่งใดๆ  ดังนั้น เราก็ไม่อาจมีความฝันและความมุ่งมั่นได้  ถ้าอย่างนั้นเมื่อเราปล่อยวางเมื่อใด เราก็ไม่สามารถเป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้เลยซิ?
     คำถามนี้คงจะดังก็องอยู่ในหัวใครบางคน ว่าเราควรทำตัวอย่างไรดี
     สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จ ก็คงบอกกับตัวเองว่า “ไร้สาระ การปล่อยวาง มันจะเป็นตัวฉุดเราเสียมากกว่า” คนเราต้องมองไปข้างหน้า มองสิ่งที่ท้าทาย ใหญ่ขึ้น แล้วหลักการปล่อยวางก็ไม่น่าจะใช้ได้ในชีวิตจริง
     แต่กับบางคนที่ล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จ ก็คงบอกว่า “ใช่ๆ เราต้องปล่อยวาง อย่าไปยึดติดกับอะไรทั้งนั้น” เราจะได้สบายใจไม่เครียดกับชีวิตตนเอง 
     เราใครถูกกันล่ะ?
     ดูเหมือน ความหมายของคำว่า “ปล่อยวาง” จะถูกตีความตามประเพณีปฏิบัติตามหลักของกฎหมายไทยทุกวันนี้ คือ ตีความ “เข้าข้างตนเอง” ไว้ก่อน แต่ความหมายที่แท้จริงของมัน คืออะไรกันแน่?
    สรุปแล้วการปล่อยวางมันเหมาะกับใครกันแน่?  แล้วเราจะประสบความสำเร็จได้ไหม  ถ้าเราปล่อยวาง? การปล่อยวางจะทำให้ความฝัน อันยิ่งใหญ่ของเรา สูญสลายไปหรือไม่? หรือ การปล่อยวางเหมาะสำหรับใครบางคนที่ไม่มีอะไรจะทำ  คนแก่ คนล้มเหลว เท่านั้นหรือ และเอามาเป็นหลักยึดถือมิให้ จิตใจมันห่อเหี่ยวไปมากกว่าที่เป็นอยู่
     ถ้าจะให้ตีความหมายที่แท้จริงของการปล่อยวาง ก็คือ การ “ไม่ยึดติด” แต่ไม่ใช่การละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ดังนั้นทุกคนก็สามารถใช้ชีวิตแบบปล่อยวางได้ ไม่ว่าคุณกำลังอยู่ในช่วง “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” ก็ตาม 
     ถ้าคุณมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ มีงานทำที่มั่นคง แต่คุณไม่ปล่อยวางจะเกิดอะไรขึ้น?
     ชีวิตของคุณก็คงเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง คุณคงไม่กล้ามอบหมายงานที่สำคัญและไม่สำคัญให้ใคร เพราะคุณคิดว่า “คุณคือคนที่เก่งที่สุด” ยึดติดกับความเก่งของตัวเอง หรือ บางครั้งคุณทำทุกอย่างด้วยความใจร้อน เพราะคิดว่า โลกนี้มันจะเดินไม่ได้ถ้าไม่มีคุณ   หรือ แม้กระทั่งเมื่อมีการผิดพลาดเกิดขึ้น คุณคงจะทำใจที่จะยอมรับว่าตนเองผิดได้ยาก และพยายามโทษคนอื่น ซึ่งทำให้สัมพันธภาพระหว่างคุณกับคนอื่น เริ่มเสื่อมสลายลง
    
แต่สำหรับคนที่ล้มเหลว ถ้าคุณตีความว่าการปล่อยวาง คือการไม่ทำอะไร ทำใจรับสภาพเท่านั้น แสดงว่าคุณก็ตีความหมายผิดในลักษณะเกินไป เพราะการปล่อยวาง คือ การปล่อยให้ใจไม่ยึดติดกับความสำเร็จหรือความรุ่งโรจน์ในอดีต แต่ให้คิดถึงว่าปัจจุบัน คุณ “เป็นอย่างที่เป็น” แต่ไม่ได้ให้ละทิ้ง “ไฟ” ของการต่อสู้ หรือ ละทิ้ง “ความหวัง”
     “ตราบใดที่คุณสิ้นหวัง ก็อย่าหวังว่าจะสิ้นทุกข์ 
     แต่ เมื่อใดที่ คุณมีความหวัง  ความทุกข์ที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงแค่อดีตเท่านั้น”  
 
การปล่อยวาง ก็ไม่ต่างกับ การปล่อยใจของคุณล่องลอย ไปกับกระแสลมของความจริง
     ความจริงที่คุณมิอาจต้านทานและปฏิเสธได้ ทั้งวัฏจักรของชีวิต การเกิด แก่ ดับสูญ  การขึ้นและการลง แต่เมื่อใดที่คุณฝืนกระแสลมแห่งความจริง ซึ่งคุณไม่มีทางที่จะต้านทานธรรมชาตินี้ได้ ชีวิตของคุณก็จะมิอาจอยู่ได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญ คุณก็มิอาจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้ 
     ถ้าคุณอย่างประสบความสำเร็จได้ ง่ายนิดเดียว แค่เพียงคุณ  
     “ปล่อยใจให้สบายกับชีวิต แต่จดจ่อทุกการกระทำของตนเอง”




line