หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
Member Login
(your email)
*
*
Forget Password?
สมัครสมาชิก
ตระกร้าสินค้า
กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
*
Your email is not correct.
Course
Articles
บัญชี-การเงิน-กฎหมาย-ภาษี
กลยุทธ์/เทคนิคการบริหาร/Tools
การตลาด / การขาย / CRM
ภาวะผู้นำ/บุคลิกภาพ/การสื่อสาร
งานอดิเรกและวิชาชีพ
Team Building / Walk Rally
HRD / HRM
การลดต้นทุน / Cost Reduction
Life Planning / Inspiration
Home
>
Articles
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีสำหรับการรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
Share
By
www.rd.go.th
Published Date
28 กันยายน 2551
เลขที่หนังสือ : กค 0702/พ./2934
วันที่ : 3 มิถุนายน 2551
เรื่อง :
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีสำหรับการรับชำระค่าสินค้าและค่าบริการผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร
ข้อกฎหมาย
:
มาตรา 86/5 (4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ
:
ธนาคารฯ จะให้บริการรับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการผ่านทางเคาน์เตอร์ของธนาคารฯ แก่ลูกค้าของหน่วยงาน ราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น โดยจะส่งใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ชำระเงินในภายหลัง ซึ่งใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีดังกล่าวอาจออก โดยหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจเอง หรือธนาคารฯ หรือตัวแทนของธนาคารฯ เป็นผู้ออก และลงวันที่วันเดียวกันกับ วันที่ธนาคารฯ รับชำระเงิน ธนาคารฯ จึงขอทราบว่า การปฏิบัติในการออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีจากการให้บริการรับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการดังกล่าว ธนาคารฯ จะสามารถกระทำได้หรือไม่
แนววินิจฉัย
กรณีหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ประกอบกิจการขายกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปา แล้วแต่กรณีรายได้ จากการขายกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปาดังกล่าว ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อได้รับชำระราคา หรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/3(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี และเนื่องจากหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น เป็น ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีสิทธิทำสัญญาตั้งธนาคารฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่คำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นตัวแทนออกใบกำกับภาษีตาม มาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากรได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทน และกำหนดรายการในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ดังนั้น หากธนาคารฯ ได้รับแต่งตั้งจากหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีกให้เป็นตัวแทนในการรับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการและออกใบกำกับภาษี แทนผ่านทางเคาน์เตอร์ของธนาคารฯ ธนาคารฯ ก็จะมีสิทธิออกใบรับหรือใบกำกับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือเป็นผู้ส่งมอบใบรับหรือใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนทันทีที่ได้รับชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการได้ ทั้งนี้ ธนาคารฯ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวด้วย
เลขตู้ : : 71/35906
ที่มา : กรมสรรพากร
www.rd.go.th
หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
? Copyright 2008 by Upper Knowledge Co.,Ltd. All Rights Reserved.
Level 17 Alma Link Building, No.25 Chidlom, Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330 Tel : 02-681-9721 Fax : 02-730-5509
Email : info@UpperKnowledge.com
website by : be pineapple