|
เทคนิคสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้วย DISC |
Share
|
Upper Knowledge |
4 กุมภาพันธ์ 2554 |
เทคนิคสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้วย DISC
การบริหารจัดการคนด้วย D I S C ขอทบทวนความเดิมตอนที่แล้วอีกสักครั้ง กล่าวคือเมื่อท่านได้ทราบลักษณะหรือสไตล์ของคนทั้ง 4 แบบแล้ว ท่านลองมองกลับมาที่ตัวท่านเอง (อย่างไม่ลำเอียง) นะครับว่า ท่านจัดอยู่ในประเภทใดหรือท่านมีสไตล์ใดเป็นสไตล์หลัก คือพฤติกรรมการแสดงออก การพูดการจา การดำเนินชีวิตของท่านส่วนใหญ่ นั่นแหละครับสไตล์หลักของท่าน
ส่วนสไตล์แต่ละสไตล์จะมีลักษณะยังไง ท่านก็ต้องไปหาอ่านจากตอนที่ผ่าน ๆ มานะครับ ขืนเอามาพูดใหม่จะเปลืองหน้ากระดาษเสียเปล่า ๆ
เมื่อท่านทราบสไตล์ของท่านแล้ว ท่านควรจะทำความเข้าใจถึงผู้คนรอบข้างในสไตล์อื่นด้วย เพื่อให้การทำงานหรือการใช้ชีวิตร่วมกันเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเมื่อท่านพบว่าเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน สามี ภรรยา ลูก ฯลฯ ของท่านทำไมถึงทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือทำไมถึงไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้นะขอให้ท่านกลับมาคิดถึงเรื่องที่ผมเคยบอกไว้แล้วว่า เป็นเพราะคนแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน
มาถึงตรงนี้ ผมอยากจะให้ท่านได้เข้าใจเพิ่มขึ้นว่าคนในแต่ละสไตล์ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง เพื่อที่ท่านจะได้ระมัดระวังในการปรับตัวกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่คนที่บ้านของท่านได้ดียิ่งขึ้น
เราลองมาดูกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งที่คนสไตล์ D ชอบ คือการทำงานอย่างอิสระ เมื่อมอบหมายงานให้แล้ว ต้องให้อำนาจตัดสินใจเขาไปด้วยนะครับ เพราะเขาเป็นคนที่มุ่งผลลัพธ์ (Result Oriented) สูง ชอบงานที่ท้าทายความก้าวหน้าในหน้าที่/ตำแหน่ง ชอบเสี่ยง กล้าตัดสินใจ งานหรือกิจกรรมที่จะ ต้องการคนเข้าไปลุยแก้ปัญหาหรือจัดการให้เสร็จในภารกิจเฉพาะที่ต้องการให้เห็นผลเร็ว หรือมีการแข่งขันสูง และมีเป้าหมายหรือตัวชี้วัดผลสำเร็จที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์ D ไม่ชอบ การที่เข้าไปควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด เพราะเขาจะรู้สึกว่าไม่ได้รับความไว้วางใจ การตัดสินใจที่ชักช้า (ก็เพราะเขาเป็นคนใจร้อนนี่ครับ) การมีขั้นตอนที่มากหรือมีงานจุกจิกหยุมหยิม หรือการมอบหมายงานให้ไปแล้ว แต่ไม่ให้อำนาจตัดสินใจ จะทำให้เขาอึดอัด ตลอดจนการเข้าไปแทรกแซงสิ่งที่เขาได้ตัดสินใจสั่งการ จะทำให้เขารู้สึกหงุดหงิดและอึดอัดมากขึ้น
สิ่งที่คนสไตล์ I ชอบ คนสไตล์ I จะชอบงานที่ต้องพบปะติดต่อผู้คน งานสมาคม งานสังสรรค์ เจ๊าะแจ๊ะ การเข้าไปให้กำลังใจกับผู้คน การเข้าร่วมประสานงานระดมความคิด งานแปลก ๆ ใหม่ ๆ งานที่ต้องทำกันเป็น กลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
สิ่งที่คนสไตล์ I ไม่ชอบ งานที่เป็นงานประจำโดยเฉพาะงานที่ ไม่ค่อยได้พบปะกับผู้คน เพราะเขาจะรู้สึกว่ามันจำเจ น่าเบื่อหน่าย หรือมีกฎระเบียบมาก ๆ หรืองานที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้คน งานที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งหรือต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความ ขัดแย้งของผู้คน ก็เขาไม่ชอบทำอะไรที่ขัดใจคนอื่นนี่ครับ
สิ่งที่คนสไตล์ S ชอบ คนสไตล์ S จะชอบงานที่เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน ไม่ต้องเร่งรีบนักเพราะเขาไม่ชอบเสี่ยงนี่ครับ เรียกว่าทำช้า ๆ แต่ชัวร์ เขาจะเป็นผู้ร่วมทีมงานที่ดี ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ของกลุ่ม เป็นผู้รับฟังที่ดีด้วยท่าทีที่นุ่มนวล ด้วยบรรยากาศมิตรภาพ ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพที่ดีซึ่งกันและกัน จึงไม่ชอบทำอะไรที่จะทำให้คนมองว่าเขาเป็นคนไม่ดี ชอบอยู่อย่างสงบไม่รุกรานใคร ชอบที่จะให้มีเวลาในการทำงานหรือมีเวลาในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ชอบทำอะไรที่ไม่เสี่ยงและมีหลักเกณฑ์หรือมีขั้นตอนที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์ S ไม่ชอบ เขาจะไม่ชอบบรรยากาศของความขัดแย้ง การบีบบังคับให้ตัดสินใจแบบทันทีทันใด เพราะเขาจะรู้สึกว่าทำไมไม่คิดให้ดีให้รอบคอบเสียก่อน ไม่ชอบการลัดขั้นตอน หรือการมีกฎเกณฑ์ที่คลุมเครือจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูก ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ชอบความขัดแย้งในทีมงาน การไม่ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน เมื่อเขาพูด (กรณีที่เขาเป็นหัวหน้างาน) ท่านก็ต้องฟัง เพราะเขาไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง (แม้ว่าปากอาจจะบอกว่าชอบการเปลี่ยนแปลงก็ตาม)
สิ่งที่คนสไตล์ C ชอบ คนสไตล์ C เขาจะชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความถูกต้องของ ข้อมูลที่เชื่อถือและพิสูจน์ได้ ก็เขาเป็นคนที่ชอบข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว ชอบข้อมูลเอกสารแนบเยอะ ๆ รับรองว่าเขาจะอ่านทุกหน้าทุกบรรทัด ผิดตรงไหนจะหาที่ผิดมาให้ดูจนได้ เขาจึงเป็นคนที่มีมาตรฐานในการทำงานสูง หรือที่เรียกกันว่าเป็นพวกต้องการความ ครบถ้วนสมบูรณ์สูงมาก (perfectionism) หากเขาพบว่ามีใครที่ให้ข้อมูลที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องแล้วล่ะก็ เขาจะจำไว้นาน เลยครับ
สิ่งที่คนสไตล์ C ไม่ชอบ นั่นก็คือความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีข้อมูลรายละเอียดรองรับ เพราะจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูก เนื่องจากเป็น สไตล์ที่รับฟังหรือค้นหาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน (หรือพยานวัตถุ) มากกว่าพยานบุคคล ดังนั้นเขาจะอึดอัดใจหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ ในขณะเดียวกันหากมีใครวิจารณ์ตัวเขาหรือผลงานของเขาว่าไม่ดีควรปรับปรุงแล้วล่ะก็ เขาจะหงุดหงิดมากขึ้น อีกประการหนึ่งคือเขาไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบที่จะต้องเป็นจุดเด่นในที่สาธารณะครับ
เอาล่ะครับ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ในตอนหน้าซึ่งเป็นตอนจบของซีรีส์ชุดนี้ ผมจะมาพูดถึงวิธีการติดต่อกับคนในแต่ละสไตล์ให้ท่านได้ทราบปิดท้ายอีกครั้งนะครับ
---------------------------------------------------------------
รู้จักศักยภาพของตัวเอง ชีวิตเปลี่ยน
Upper STYLE Assessment via WorkStyle DISC ช่วยคุณได้ โปรแกรมประเมินศักยภาพ ด้านบุคลิกภาพและภาวะผู้นำผ่านระบบออนไลน์
Benefit -เจาะจุดแข็ง (Strength) -ปิดจุดบอด (Blind spot) -คำแนะนำเพื่อการพัฒนาตนเอง และพัฒนาเป็น Individual Development Plan (IDP) -คำแนะนำสำหรับประเภทงานที่เหมาะกับบุคลิกภาพของคุณ เพื่อต่อยอดเป็น Career Path Planning -ช่วยให้คุณเข้าใจสไตล์ตนเอง และทราบแนวทางในการปรับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Why Upper STYLE Assessment - สะดวก ทำแบบประเมินผ่านระบบออนไลน์ เมื่อใดก็ได้ที่สะดวก สามารถรับ Profile report ได้ทันทีเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จ - มั่นใจ หลายองค์กรชั้นนำต่างให้การยอมรับ - คุ้มค่า เพียง 1,800 B/ท่าน มีข้อมูลเป็นแนวทาง ไม่ต้องเสียเวลา ลองผิดลองถูก กับการค้นหาตัวตน - ต่อยอดได้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการทำ IDP และ Training Roadmap รายบุคคลต่อไปได้ - สองภาษา ชุดคำถามและ report มีทั้ง version ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ - มี หลาย version ตามแต่จุดประสงค์ อาทิ version สำหรับ Career guide , version สำหรับทำ IDP & development ในองค์กร, version สำหรับ Recruitment
สนใจติดต่อ Upper Knowledge Hotline 02-730-5589 , 089-129-8989 info@UpperKnowledge.com
|
|
|
|