หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
 






search

Training and Seminar

Articles
ลดความขัดแย้งอย่างนุ่มนวล Share
By ดร. นิตยา นีรนาทโกมล
Published Date 3 เมษายน 2552

ลดความขัดแย้งอย่างนุ่มนวล

   เมื่อที่ใดมีคนมากกว่าหนึ่ง ปัญหาความขัดแย้งก็เกิดเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ไหนๆ แล้วเราจะมีวิธีบริหารจัดการกับมันอย่างไร

   ตามจริงตำราบริหารจัดการความขัดแย้งมีมากมายหลายวิธี แต่วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอหลักการ Emergenetics ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการนี้ ( จากหนังสือ Emergenetics : Tap into the New Science of success) เพราะเป็นอะไรที่เข้าได้กับสถานการณ์ทั่วไป ทั้งที่ทำงานและส่วนตัว และข้อสำคัญ คือเข้าใจและจดจำได้ง่ายด้วยค่ะ

   ผู้เขียนได้นำเสนอหลักการ Emergenetics ในคอลัมน์นี้เป็นครั้งคราว เพราะเป็นหลักการที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของคนที่มีความถนัดทางความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้ดี ทำให้เราเข้าใจจุดแข็ง (strength) และข้อจำกัด (limitation) ในตัวเรา รวมทั้งตระหนักความแตกต่างในคนอื่นซึ่งมีผลกระทบกับเราหรืองานได้

   Emergenetics แบ่งความถนัดทางความคิดของคน เป็น 4 แบบคือ เชิงวิเคราะห์ (สีฟ้า) เชิงแบบแผน (สีเขียว) เชิงสานสัมพันธ์ (สีแดง) และเชิงมโนทัศน์ (สีเหลือง) และพฤติกรรมเป็น 3 แบบ คือ เชิงการแสดงออก เชิงความมุ่งมั่น และเชิงความยืดหยุ่นวันนี้เราจะเน้นเพียงในส่วนของความคิดเท่านั้นค่ะ ถ้าคนเรามีความถนัดทาง ความคิดที่เหมือนกันเราคงมีปัญหาความขัดแย้งกันน้อย เช่น คนสีฟ้าชอบคิดวิเคราะห์ ก็จะต้องขอดูตัวเลข ขอข้อมูล ขอศึกษาก่อนตลอดเวลา ดังนั้นคงว่าตามกันไป แต่ความเป็นจริงทุคนไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนสีเหลืองที่ถนัดแบบมโนทัศน์อาจจะรู้สึกว่า ถ้าจะเอาแต่วิเคราะห์ คงไม่ทันกาลเข้าใจภาพใหญ่ก็พอ แล้วข้ามไปดู Solution กันเลยดีกว่า ผลไม่ต่างกันมากหรอก หรือคนสีแดงที่มีความถนัดเชิงสานสัมพันธ์ อาจมัวแต่คิดห่วงความรู้สึกและผล กระทบต่อคนที่เกี่ยวข้อง จนไม่คิดยากตัดสินใจอะไรและบางครั้งอาจเป็นที่ดูแคลนของคนสีฟ้าหรือสีเขียวที่ไม่ยึดความรู้สึกเป็นที่ตั้ง เพราะเชื่อว่าทุกอย่างควรมาจากข้อมูล

   ความหลากหลายทางความคิดนี้จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งนอกจากความคิด เรายังมักจัดการกับปัญหา หรือความขัดแย้งตามความถนัดของเรา เช่น ยิ่งแก้ปัญหาไม่ตก คนสีฟ้าก็ยิ่งหมกมุ่นที่จะวิเคราะห์ค้นหาข้อมูลมากขึ้นอาจมีการคิดคำนวณออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อการตัดสินใจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งบางครั้งขัดแย้งกับคนสีแดงที่คิดว่า เป็นการเสียเวลาทำไมไม่ใช้เวลาไปพูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้อง และขอความคิดเห็นเขาไปเลย ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาวิเคราะห์ข้อมูลเอง จะได้เข้าใจความรู้สึกคุ้นๆ ไหมคะ เราถนัดคิดอย่างไร เราก็ทำแบบนั้น และก็จัดการกับปัญหาหรือความขัดแย้งในแบบที่เราถนัดนั้นด้วย ความขัดแย้งทั้งความคิดและจัดการจึงเพิ่มทวี แต่ละคนคิดว่าวิธีของตนเองดีกว่า และถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีของเรา เราก็จะรู้สึกน้อยใจ เสียใจ และขาดความรู้สึกเป็นสวนหนึ่งของทีม

   ดังนั้นมาดูกันนะคะว่าเราเอา Emergenetics มาประยุกต์ใช้บริหารความขัดแย้งได้อย่างไรเราจะว่ากันตามสีดังที่เกริ่นข้างต้นเพื่อความกระชับและง่ายในการจำ ในกรณีที่เราเป็นหัวหน้าทีมที่ 1) ให้เริ่มจากการใช้ความคิดสีแดง คือ ให้เริ่มเปิดใจว่าเราเข้าใจและเห็นมุมมองของทุกคน ควรใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง เช่น “ฉัน หรือ ผม” เพื่อแสดงถึงความรู้สึกของคนพูดเอง การเปิดใจลักษณะนี้อาจจะยากถ้าคุณไม่ใช่คนสีแดง แต่ผู้เขียนคิดว่าคุณจะได้ความ

2) ตามด้วยความคิดสีฟ้า คือ วิเคราะห์ไตร่ตรองถึงปัญหาอย่างถ้วนถี่ ทำความเข้าใจในข้อมูลให้ถูกต้อง วิธีนี้คนสีแดงก็จะต้องปล่อยความรู้สึกมาร่วมคิดโดยยึดข้อมูล คนสีเหลืองก็ต้องทำความเข้าใจก่อนจะก้าวข้ามไป
คิดไกลกว่าคนอื่น วิธีนี้ใช้เพื่อให้ทุกฝ่ายตกลงกันให้ลงตัว ถึงปัญหา จุดยืน หรือสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เพื่อมองไปในทิศเดียวกัน 3) ความคิดสีเหลือง เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสร่วมกันนำเสนอ solution โดยการระดมสมองทุกคนในทีมมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกเป็นคนร่วมออกความคิด 4) สีเขียว คือ วางแนวทางจัดการกับปัญหาให้ออกมาเป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง โดยเลือก solution ที่ดีที่สุด วางขั้นตอนที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และมีการกำหนดระยะเวลาให้เรียบร้อย

   เราเคยพูดไว้หลายครั้งว่า คนเราไม่ได้มีความถนัดเพียงสีเดียวการยกตัวอย่างข้างต้นเพื่อให้ง่ายกับความเข้าใจเท่านั้น เป็นไงคะอ่านดูแล้วนุ่มนวลดีไหมคะ ถ้าเราไม่เตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าก่อนเราจะพบว่าเรามัก จะจัดการกับความขัดแย้งความถนัดของเรา และบางครั้งทำให้สมาชิกในทีมที่มีความถนัดต่างจากเรามีความรู้สึกท้อแท้และไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม

   มาเปิดใจบริหารความขัดแย้ง ด้วยความเข้าใจในความแตกต่างและการดึงทุกคนให้เป็นพลังร่วมกันดีกว่าคะ

สนใจการประยุกต์ใช้ Upper SCAN Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ  คลิกที่นี่

สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com
โทร.02-730-5589




line