หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา
 






search

Training and Seminar

Articles
ทำไมต้อง 21 วัน Share
By ดร. นิตยา นีรนาทโกมล
Published Date 16 กุมภาพันธ์ 2552

ทำไมต้อง 21 วัน

   หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตน (self-development) หลายเล่ม หรือโปรแกรมการปรับปรุงพัฒนาสร้างความสำเร็จของคนมักจะอ้างอิงแผนปฏิบัติการ 21 วัน ผู้เขียนจึงได้รับคำถามว่า ทำไมต้อง 21 วัน

   คนที่เป็นต้นฉบับของทฤษฎีนิสัยใน 21 วัน หรือ "21-Day Habit Theory" นี้ คือ Dr. Maxwell Maltz ซึ่งเขียนลงในหนังสือขายดีชื่อ Psycho-Cybernetics

   ถึงแม้ทฤษฎีนี้จะถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2503 แต่สาระสำคัญของมันได้กลายมาเป็นต้นฉบับของการนำไปใช้ประโยชน์ในสาขาจิตวิทยา และโปรแกรมการพัฒนาคนมาจนถึงทุกวันนี้

   สาระสำคัญของทฤษฎีนี้ ก็คือ เรื่องที่การกระทำจะ "ตกผลึก" กลายเป็น "นิสัย" ได้ต้องกระทำต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 21 วัน และหัวใจสำคัญในทฤษฎีนี้ คือภาพลักษณ์ของตัวตนในจิต (self image) เราต้องเชื่อว่าเราเป็นคนอย่างที่เราปรารถนาจะเป็นได้

   Dr. Maltz เป็นแพทย์ทางศัลยกรรมตกแต่ง ท่านพบว่าหลังศัลยกรรมแล้ว คนไข้ส่วนหนึ่งไม่เห็นตนเองเปลี่ยนแปลงดีขึ้น เนื่องจากคนไข้ยังมีภาพลักษณ์เดิมของตนในใจ อาทิเช่น คิดเห็นว่าตนไม่สวยพอไม่ดีพอ จึงไม่สามารถมีความสุขหรือความพึงพอใจกับภาพลักษณ์ภายนอกที่เปลี่ยนดีขึ้นได้ นอกจากนี้ ท่านก็ได้สังเกตว่า คนที่สูญเสียแขนขา ซึ่งมักมีอาการที่เรียกว่า "Phantom syndrome" คือมีความรู้สึกเสมือนแขนหรือขานั้นยังอยู่แต่ไม่ปกติ บังคับไม่ได้ และเกิดความเจ็บปวดทรมาน ต้องใช้เวลาถึง 21 วัน จึงจะหลุดพ้นจากอาการนั้นมาได้ จากการศึกษาค้นคว้าต่อ ได้พบว่าคนเราต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง 21 วัน จึงจะสามารถปรับตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียแขนขาหรือคนรัก การเปลียนงาน หรือแม้กระทั่งการเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ มาจนถึงการสร้างนิสัยใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 21 วัน

   Dr. Maltz ให้ความสำคัญกับเรื่องภาพลักษณ์ตัวตนในจิตมาก เพราะมันรวมถึงความเชื่อในความเก่ง ความดีและความด้อยในตัวคนนั้นเข้าไปด้วย ดังนั้น การกระทำ ความรู้สึก พฤติกรรม ตลอดจนความสามารถของคนนั้น จะสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของตัวเขาในจิต ตราบใดที่ความเชื่อนี้ไม่เปลี่ยน พฤติกรรมของเขาก็จะถูกครอบงำอยู่ในความเชื่อหรือภาพลักษณ์เดิม และท่านเชื่อว่าคนเราสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวตนในจิตได้

   เทคนิคง่ายๆ ในการทำตามทฤษฎีนี้ คือให้อุทิศเวลาอย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน ในการกระทำที่เสริมสร้างนิสัยที่ต้องการ และทำต่อเนื่องจริงจังทุกวันเป็นเวลา 21 วัน จะเป็นนิสัยแบบใดก็ได้ ตั้งแต่เรื่องของสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย ไปจนถึงเรื่องทัศนคติเช่นการปรับเปลียนการเรียนรู้และมุมมอง การนำเอาประสาทสัมผัสหลากหลายมาร่วมด้วย จะทำให้บรรลุผลได้ดียิ่งขึ้นด้วย

   ตัวอย่างเช่น ถ้าเรต้องการสร้างนิสัยการทำสมาธิ นอกจากการที่เราเอาใจจดจ่อแน่วแน่ในการทำจิตให้ว่างจริง ปราศจากความเร่งรีบหรือกังวล เราสามารถเสริมสร้างนิสัยการทำสมาธินี้ให้แข็งแกร่งขึ้นได้อีกในช่วง 21 วันนี้ ด้วยการแต่งตัวในชุดประจำ ในสถานที่ประจำ ในช่วงเวลาประจำ ในที่สมาธิประจำ และอาจใช้กลิ่นประจำจากเครื่องหอมหรือธูปที่ทำให้เราผ่อนคลายได้ด้วยยิ่งดี การใช้ประสาทสัมผัสยิ่งมากในการสร้างนิสัยใหม่ จะยิ่งทำให้ทางเดินประสาท (neural pathways) ของเราแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของ "นิสัย"

   ดังนั้น การที่เราจะใช้มโนภาพในการกำหนดภาพลักษณ์ทางจิต (visualize) ให้เราทำให้ถึงขั้นสามารถรับรส กลิ่น เสียง ความรู้สึก ร่วมกับภาพที่เราสร้างให้ได้ คือให้สามารถเห็นได้สัมผัสได้เหมือนเกิดขึ้นจริง ส่วนการกำหนดการกระทำ ถ้าเราพลาดทำไปหนึ่งวัน ให้เราเริ่มทำใหม่ จนสามารถทำได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 21 วันในรวดเดียว

   อย่าลืมหัวใจสำคัญของโปรแกรม 21 วัน อยู่ที่จุดเริ่มต้น คือการเปลี่ยนความเชื่อและภาพลักษณ์ของตัวตนในจิตใจให้เป็นอย่างที่เราต้องการพัฒนาไปให้ถึง ส่วนเวลา 21 วันเป็นส่วนที่ให้สมองมุ่งมั่นสั่งคิดสั่งปฏิบัติซ้ำๆ จนเกิดเส้นทางประสาทที่มีประสิทธิภาพและกลายเป็นนิสัย

สนใจการประยุกต์ใช้ Upper SCAN Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ  คลิกที่นี่

---------------------------------------------
สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com
โทร. 02-730-5589




line