หน้าแรก
Home
เกี่ยวกับเรา
About Us
บทความ
Articles
หนังสือแนะนำ
Books
หลักสูตร
Inhouse Courses
สมาชิก
Member
ติดต่อเรา
Contact Us
Upper
Assessment
 

กรุณาระบุอีเมล์ของท่าน
เพื่อรับข่าวสารจากเรา







search

Training and Seminar

Articles
คุณเป็นคน "สี" อะไร? Share
By ดร. นิตยา นีรนาทโกมล
Published Date 12 กุมภาพันธ์ 2552

คุณเป็นคน "สี" อะไร?

   คุณเคยคิดไหมว่า ทำไมคนเราอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน  ต่างมีความคิด บุคลิกภาพ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่นเวลาดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรืออ่านหนังสือเล่มเดียวกัน  เราจะมีมโนภาพต่างแบบ คิดต่างมุมและบ่อยครั้งเรามีความรู้สึกนึกชอบหรือไม่ชอบ ต่างกันออกไป

   แม้แต่การทำงานร่วมกันในองค์กร  อาจมีหลายครั้งที่เรารู้สึกว่าทำไมคนอื่นช่างมีปัญหามากจัง หรือเขาคิดแบบนั้นได้อย่างไร

   ในทางวิทยาศาสตร์ยอมรับกันแล้วค่ะว่าพฤติกรรมของคนเราเป็นผลมาจากยีนซึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (nature) ร่วมกับ ประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่เราเติบโตขึ้นมา (nurture)

   วันนี้ขอถือโอกาสแนะนำเรื่องที่น่าสนใจ โดยจะขอยกเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือทางจิตวิทยาและหลักทฤษฎีที่มีชื่อว่า Emergenetics มาเล่าสู่กันฟัง

   คำว่า Emergenetics มาจากรากศัพท์ 2 คำ คือ emerging (การพัฒนาจนเป็นรูปแบบขึ้นมา) และ genetics (ยีนที่ถ่ายทอดกันมาทางกรรมพันธุ์)

   Emergenetics Pfofile เป็นเครื่องมือประเมินทางจิตวิทยาที่ยึดหลักการทำงานของสมอง  โดยผสมผสานทฤษฎีการทำงานของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาของ Dr.Roger Sperry และทฤษฎีการวิวัฒนาการของสมองทั้งสามชั้นตาม Triune Brain Theory ของ Dr.Paul MacLean มาเป็นพื้นฐานในการประเมินคุณลักษณะทางความคิด (Thinking Attributes) ของคนเรา

   ตามหลักการนี้ คุณลักษณะทางความคิด ซึ่งจะขอเรียกสั้นๆ กระชับเนื้อที่ว่า "ความคิด" ของคนเราสามารถจำแนกอย่างอุปมาอุปไมยได้เป็น 4 คุณลักษณะ

   อย่างแรกคือ  ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical) ซึ่งแทนด้วย สีฟ้า  คือการใช้คุณลักษณะของสมองซีกซ้ายในการวิเคราะห์ไตร่ตรอง หาเหตุผล มีตรรกะ มีความถนัดด้านตัวเลข และการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์

   คนที่มีความคิดเชิงวิเคราะห์สูง มักสนใจในเทคโนโลยี  มักชอบใช้เวลาอยู่กับกระบวนการคิดวิเคราะห์ และค้นคว้าหาข้อมูล มีความสนใจในทฤษฎีและหลักการ คนพวกนี้มักดูเป็นคนช่างคิด  มีเหตุผล ช่างวิพากษ์วิจารณ์ และเป็นคนที่ช่างใฝ่หาข้อมูลเพื่อตอบข้อสงสัย

   ความคิดเชิงแบบแผน (Structural) ซึ่งแทนด้วยสีขียว  คือการใช้คุณลักษณะของสมองซีกซ้ายในการเรียบเรียง จัดการ รวมถึงการลำดับขั้นตอนของกระบวนงานและเรียนรู้ใส่ใจในรายละเอียด และมีระเบียบปฏิบัติเด่นชัด  มักดูเป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย เชื่อถือได้ เป็นนักปฏิบัติ  มีแนวคิดและมีวินัย และมีพฤติกรรมคงที่ และคาดเดาได้

   ความคิดเชิงสานสัมพันธ์ (Social) ซึ่งแทนด้วยสีแดง  คือการใช้คุณลักษณะของสมองซีกขวาในการหฏิสัมพันธ์กับคนอื่น มีอารมณ์ออ่อนไหว ชอบสังคม มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องคน  คนที่มีความคิดเชิงสานสัมพันธ์สูง มักเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจผู้อื่น มีมุมมองเข้าถึงคน และมีลางสังหรณ์เกี่ยยวกับคน  คนพวกนี้ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยสังเกตการณ์จากการกระทำของคนอื่นและมักสนทนาโดยอ้างอิงประสบการณ์ของตนเอง

   ความคิดเชิงมโนภาพ (Conceptural) ซึ่งแทนด้วยสีเหลือง  คือการใช้คุณลักษณะของสมองซีกขวาในการสร้างมโนภาพ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  มักตื่นเต้นเมื่อได้พบกับสิ่งใหม่ๆ

   คนที่มีความคิดเชิงมโนภาพสูง มักเป็นคนที่มีปัญญาญาณทางความคิด กล้าได้กล้าเสีย  มองภาพใหญ่  ไม่ชอบลงในรายละเอียด   ไม่ชอบอยู่ในกรอบ  ทันสมัย  และมีสุนทรียภาพ

   นอกเหนือจากนั้น Emergenetics Profile ยังรวมการประเมินคุณลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioral Attributes) ของคนเราไว้ด้วย  ตามหลักการของ Emergenetics

   พฤติกรรมที่เป็นความถนัดทางธรรมชาติของคนเรา ล้วนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับความถนัดทางสมอง  นั่นหมายความว่า คนที่มีความถนัดทางสมองคล้ายกัน  อาจมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้  ดังนั้นเราจะเห็นว่า บางครั้งเราอาจเข้าใจคนผิดไปจากตัวตนหรือความคิดอ่านที่แท้จริงของเขา

   ถ้าเราใช้เพียงพฤติกรรมภายนอกในการตัดสินคน  ใน Emergenetics จะประเมินคุณลักษณะทางพฤติกรรมของคนเรา โดยแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ

   การแสดงออก (Expressiveness) เป็นคุณลักษณะของการตอบสนองในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ทั้งในรูปแบบของวาจา  สีหน้า ท่าทาง การกระทำ ตั้งแต่เงียบขรึม ช่างเจรจา ชอบสังสรรค์ ไปจนถึงชอบเรียกร้องความสนใจ

   ความมุ่งมั่น (Assertiveness) เป็นคุณลักษณะที่ต้องอาศัยพลังงานในตนเอง เพื่อการแสดงออกถึงความมุ่งมั่น จริงจัง และจุดยืนของตนเช่น รักความสงบ วางตัวง่ายๆ ไม่ชอบแข่งขัน ไปจนถึง พร้อมที่จะปะทะเพื่อยืนหยัดในจุดยืนของตนเอง

   ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นคุณลักษณะของความเต็มใจ และความโอนเอียงในการตอบสนองต่อความคิดเห็น หรือการกระทำของผู้อื่น เป็นคนตีกรอบความคิด ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่พร้อมรับทัศนคติที่ต่างจากตนไปจนถึง พร้อมจะปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์

   เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะเห็นประโยชน์มหาศาลจากความเข้าใจในตัวตนของเรา ผ่าน Emergenetics บ้างไหมคะ...ถ้าเราตระหนักว่า คนเรามีสไตล์มาจากความถนัดที่แตกต่างกัน  จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจทั้งตัวเอง และคนอื่นได้ดีขึ้น  เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ทั้งในองค์กรและในสังคม

สนใจการประยุกต์ใช้ Upper SCAN Emergenetics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทีมงานของคุณ  คลิกที่นี่

-----------------------------------------
สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ info@UpperKnowledge.com 
โทร.02-730-5589




line